โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
ข้อบ่งชี้คุณภาพโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
๑. มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม (ลด ละ เลิก อบายมุข) ถือศีล ๕ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
๒. มีพรหมวิหารธรรมประจำใจ
๓. มีความซื่อสัตย์ จริงใจในการทำงาน
๔. มีความเข้าใจที่ถูกต้องในพระรัตนตรัย นับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา
๕. มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม (ลด ละ เลิกอบายมุข) มีศีลธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
๖. มีพรหมวิหารธรรม มีความเป็นกัลยาณมิตรมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามตามหลักไตรสิกขา
๗. รู้ เข้าใจ หลักการพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา
๘. มีวิสัยทัศน์หรือปรัชญา พันธกิจ เป้าหมาย ธรรมนูญ หรือแผนกลยุทธ์ที่มีจุดเน้นในการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ
๙. แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการดำเนินโรงเรียนวิถีพุทธและบริหารการดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เกี่ยวข้อง (บ ร ว) มีส่วนร่วม
๑๐. ปลูกฝังศรัทธา สร้างเสริมปัญญาในพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นกับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง
๑๑. ร่วมมือกับผู้ปกครอง วัดและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและชุมชน
๑๒. มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธอย่างต่อเนื่อง
๑๓. มีระบบตรวจสอบประเมินผล และเปิดโอกาสให้มีการเสนอแนะอย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๑๔. มีหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการพุทธธรรมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๑๕. จัดประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียนและประจำห้องเรียนเหมาะสม
๑๖. มีป้ายนิเทศ ป้ายคติธรรม คำขวัญ คุณธรรมจริยธรมโดยทั่วไปในบริเวณโรงเรียน
๑๗. สภาพโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย สงบ ร่มรื่น เรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ
๑๘. บริเวณโรงเรียนปราศจากสิ่งเสพติด อบายมุข สิ่งมอมเมาทุกชนิด
ด้านกระบวนการ (Process)
๑. จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการพุทธธรรมหรือหลักไตรสิกขาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
๒.ส่งเสริมให้มีการนำหลักธรรมมาเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
๓. จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
๔.จัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ทั้งผู้เรียนรู้และผู้จัดการเรียนรู้
๕. จัดกิจกรรมบริหารจิตเจริญปัญญา ทั้งในการเรียนการสอนและในกิจกรรมการดำรงชีวิต
ประจำวัน
๖. ใช้สื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ
๗. นิมนต์พระสงฆ์ หรือเชิญวิทยากรภูมิปัญญาทางพุทธศาสนา สอนนักเรียนสม่ำเสมอ
๘. จัดให้นักเรียนไปเรียนรู้ที่วัด หรือที่ศาสนสถานที่ใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
๙.มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุมตามหลักภาวนา ๓ (กาย
ศีล จิต ปัญญา) โดยมีจุดประสงค์เน้นเพื่อพัฒนานักเรียนต่อเนื่อง
๑๐.ส่งเสริมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้ม มีเมตตาต่อกัน ทั้งครูต่อนักเรียน ครูต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อผู้ปกครอง
๑๑.ส่งเสริมบรรยากาศใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่สร้างสรรค์
๑๒.ส่งเสริมบุคลากรและนักเรียนให้ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
๑๓. ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชู ผู้ทำดี เป็นประจำ
๑๔. ฝึกฝนอบรมให้เกิดการกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น (รู้เข้าใจเหตุผลและได้ประโยชน์ตามคุณค่าแท้ตามหลักไตรสิกขา)
๑๕. ส่งเสริมกิจกรรมการรับผิดชอบดูแลรักษาพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอจนเป้นนิสัย
๑๖.ส่งเสริมปฏิบัติกิจกรรมพระพุทธศาสนาอย่างเห็นคุณค่า รู้เข้าใจเหตุผล
๑๗. จัดกิจกรรมส่งเสริมการระลึก และศรัทธาในพระรัตนตรัย เป็นประจำ และในโอกาสสำคัญ
อย่างต่อเนื่องเป็นวิถีชีวิต
๑๘. ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และคุณค่าในการรักษาและสืบต่อพระพุทธศาสนา
ด้านผลผลิต (Output)
๑. บริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม ได้คุณค่าแท้
๒. การดูแลร่างกาย และการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย
๓. ดำรงชีวิตอย่างเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม
๔. มีศีล ๕ เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
๕. มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา
๖. สามารถพึ่งตนเองได้หรือทำงานเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต
๗. มีความกตัญญูรู้คุณ ตอบแทนคุณ
๘. มีจิตใจ เมตตา กรุณา (เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันต่อกัน)
๙. ทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ อดทน ขยัน หมั่นเพียร
๑๐. มีสุขภาพจิตดี แจ่มใส ร่าเริงเบิกบาน
๑๑. มีศรัทธา และความเข้าใจที่ถูกต้องในพระรัตนตรัย
๑๒. รู้บาป บุญ คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์
๑๓. ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาแสวงหาความจริง และใฝ่สร้างสรรค์ พัฒนางานอยู่เสมอ
๑๔. รู้เท่าทัน แก้ไขปัญหาชีวิตและการทำงานได้ด้วยสติปัญญา
ด้านผลกระทบ (Outcome/Impact)
๑. บ้านและชุมชนมีสมาชิกที่เป็นคนดีไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขเพิ่มขึ้น
๒.ชุมชนมีผู้ช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนมากยิ่งขึ้น
๓. วัดได้ศาสนาทายาทและกำลังช่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนามากขึ้น
๔. โรงเรียนได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธาและได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้อง (บ้าน วัด ราชการ)
|