ธรรมะกับการศึกษา บันทึกจากการอ่าน หนังสือสยามสามไตร (ท่าน ป. อ. ปยุตฺโต)

ไตรรัตน์ ไตรลักษณ์ ไตรสิกขา

มีไตรรัตน์เป็นแสงสว่างนำทาง มีไตรลักษณ์เป็นพื้นฐาน ธรรมชาติที่เป็นจริง และมีไตรสิกขาเป็นวิธีปฏิบัติ

  • ไตรรัตน์

พระพุทธ

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบคือ ความจริงตามธรรมชาติ

การศึกษาต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริงตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฏของธรรมชาติ ตามสภาวะในธรรมชาติ มันอำนวยให้เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ความจริงของธรรมชาติ หรือรู้ที่มันเป็น แล้วปฏิบัติให้สอดคล้องกัน

คนที่สามารถพัฒนาปัญญาได้ คือ คนที่มีปัญญารู้เท่าทัน คือ การรู้จักใช้ธรรมชาติในทางที่ีดี เป็นคุณ แล้วจะทำให้เรากลายเป็นผู้เป็นอยู่อย่างดี นั่นคือ อารยชน

ด้วยหลักของไตรลักษณ์ สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น คนเราสามารถพัฒนาปัญญาได้ คือเจริญในทางที่ดี โดยใช้หลักปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์

กระบวนการพัฒนาปัญญา ต้องอาศัยปัจจัยที่เป็นคุณสมบัติ คือด้านศิล ด้านจิต ประกอบจนสมบูรณ์ไปด้วยกันทั้งหมด (เรื่องมรรคมีองค์ 8 ที่ท่านกล่าวไว้ในหนังสือพุทธธรรม ที่ว่าปัญญามาก่อน ศิล สมาธิ และมีรายละเอียดที่เป็นขั้นตอน)

เราต้องเชื่อ (ศรัทธา) ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในความจริง นำมาปฏิบัติได้ และต้องเชื่อว่าเรามีศักยภาพว่าเราก็สามารถพัฒนาปัญญาจนรู้ในความเป็นจริงได้เช่นเดียวกัน (เรื่องศรัทธานี่รู้สึกว่าจะมีในศาสนาอื่นๆด้วยนะ มักจะมาก่อนข้ออื่นๆ) เพื่อให้เกิดการมั่นใจ เชื่อมั่นที่จะปฏิบัติ

กระบวนการศึกษา

หลักการฝึกหัดพัฒนาตน คือศีลสิกขา “สิกขา” คือ การศึกษา

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้พัฒนาพระองค์แล้ว คือ มีกาย มีศิล มีจิต มีปัญญา…ที่พัฒนาแล้ว

ศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อมั่น ใจเป็นจุดเริ่ม

การศึกษาเริ่มต้นที่ศรัทธา เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าฝึกได้, มนุษย์จะต้องผ่านการฝึกจึงจะประเสริฐ ตามอย่างที่พระพุทธเจ้าท่าน

พระพุทธคุณ 2 ประกอบด้วย การปฏิบัติจนทำให้ตนเองมีปัญญา (พระปัญญา) และมีความกรุณาเผยแพร่หลักธรรมต่อชาวโลก (พระกรุณา)
ท่านบอกว่านี่เป็นกรอบใหญ่ในการพัฒนาการศึกษาไปได้ตลอดกระบวน

(เราเปรียบเทียบเอาเอง ว่านี่น่าจะหมายถึงหน้าที่ของมนุษย์ ที่จะต้องพัฒนาให้ตัวเองมีปัญญาเป็นอันดับแรก แล้วก็พอช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ก็ช่วยคนอื่นต่อ เป็นความกรุณาต่อผู้อื่น (สังคมและธรรมชาติ))

ท่านพูดเรื่องการเสพบริโภคให้เป็น (อันนี้เราคิดว่าน่าจะเป็นการรู้เท่าทัน และเป็นเรื่องความพอเพียง) เช่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องตกแต่ง ของใช้ ตลอดจนข่าวสารข้อมูล โดยประโยชนที่ว่าคือ ทำให้เกิดเรี่ยวแรง กำลังวังชา ความมีสุขภาวะทางกายและใจ และคุณสมบัติต่างๆที่แสดงถึงความเจริญงอกงามในชีวิต (คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยี โดยเสพ บริโภค ใช้สอย ด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ ไว้ในการศึกษาว่าด้วยมิติทั้ง 4 ของสุขภาพ)

พระธรรม

การศึกษาธรรม คือศึกษาความเป็นจริงตามธรรมชาติ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจความเป็นธรรมดา

เมื่อเราศึกษาแล้วเราก็มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏของธรรมชาติ เมื่อรู้แล้วก็นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

พระสงฆ์

ท่านให้ความหมายว่าพระสงฆ์ คือ ชุมชนแห่งความสามัคคี และกัลยาณมิตร ของผู้ที่ฝึกพัฒนาตนแล้ว และที่กำลังก้าวไปในการพัฒนาตน

เป็นสิ่งแวดล้อมหนุนนำให้คนศึกษา

ชุมชนสังฆะมีลักษณะประจำตัว 4 อย่าง ดังนี้

  1. มีคนอยู่ร่วมกัน สภาพที่เอื้อที่สุดก็คือตัวบุคคล ที่จะมาเกื้อหนุนกันและกันในการศึกษา

  2. มีความสัมพันธ์ในรูปแบบกัลยาณมิตร หากมีความรู้สูงกว่าก็เป็นครู เป็นอุปัชฌาย์ โดยจะแนะนำ สั่งสอน ตอบคำถาม กระตุ้นเตือน ให้คำปรึกษา หากความรู้ระดับใกล้เคียงกัน ก็ อภิปราย สนทนา แลกเปลี่ยน

  3. มีความสามัคคี เป็นความสามัคคีของหมู่คนที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน

  4. มีวินัยสงฆ์ เพื่อการอยู่ร่วมกัน เพื่อการจัดสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการศึกษา พร้อมทั้งให้เป็นเครื่องรองรับความสามัคคี

ท่านบอกว่าชุมชนที่ดี ต้องมีลักษณะ แบบนี้ โดยเฉพาะโรงเรียน

  • ไตรลักษณ์

ความจริงตามธรรมชาติ 3 อย่าง เราจะเรียกว่ากฏธรรมชาติก็ได้ ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย

อนิจจตา

ช่วยให้รู้ทัน และเตือนไม่ให้ประมาท เพื่อเตือนให้เราทำหน้าที่ ศึกษา รู้ทัน สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องรีบใช้โอกาสนี้ในการพัฒนา เราต้องรู้เหตุและปัจจัย แล้วไปทำให้เหตุปัจจัยพัฒนา ปัจจัยตัวไหนต้องแก้ ปัจจัยตัวไหนต้องกัน ปัจจัยตัวไหนต้องทำให้เกิด

กฏตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นไปตามใจอยากของเรา เราต้องยอมรับความจริง อยู่กับความจริง ปล่อยวางความอยาก ปล่อยวางทางใจ ปล่่อยใจให้เป็นอิสระ จะทำให้เราไม่เป็นทุกข์ทางใจ

พอปล่อยวางทางใจแล้ว ให้ปัญญาเข้ามาจัดการ ไม่ใช่ปล่อยวางแล้วไม่ทำอะไรเลย (เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลย คือการอยู่ในความประมาท) ท่านบอกว่า ใจเป็นส่วนของความรู้สึก ปัญญาอยู่ในส่วนของความรู้

สรุปการใช้ปัญญา 2 อย่างคือ

  1. เริ่มต้นปัญญาที่รู้่ความจริง แล้วปล่อยวางให้ใจเป็นอิสระ

  2. จากนั้นใช้ปัญญา (โดยมีสติช่วย) มองให้เห็น เหตุปัจจัยทางด้านร้าย และดี แล้วจัดการแก้ไขปรับปรุง

สรุปว่า ให้ใช้ปัญญาป้องกันเหตุแห่งความเสื่อม และสร้างเหตุแห่งความเจริญเอาไว้ตลอดเวลา (เข้ากับขจัดร้าย ขยายดีเลยไหม :) ) โดยเข้าไปรู้และจัดการกับเหตุปัจจัย

ท่านกล่าวว่า พุทธศาสนา เป็นศาสนาของการกระทำ ศึกษาให้รู้ แล้วทำให้ตรงเหตุปัจจัย ท่านใช้คำว่า ทำจิต กับทำกิจ

กฏของธรรมชาติเป็นฐานรองรับกระบวนการศึกษาทั้งหมด

ไตรสิกขา คือระบบการศึกษาที่สอดคล้องไปกับความจริงของธรรมชาติ (อนิจจตา) ที่เปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาได้ แต่ต้องไม่ประมาท คือต้องรู้เหตุปัจจัยแล้วพัฒนาปัจจัย

ทุกขตา

ทุกขตา หมายถึง ความเป็นทุกข์ เป็นอาการของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาของธรรมชาติ โดยมีปัจจัยที่ฝืนขัดแย้งกระทบกระแทก อันจะทำให้คงอยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป

สังขาร (ร่างกาย) เป็นส่วนประกอบของระบบใหญ่และระบบย่อยมากมาย ที่ทำงานกันอย่างสมดุล

ในร่างกายทุกส่วนของร่างกายจะดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากภาวะที่เป็นทุกข์

ทุกข์ทั้งจากร่างกาย ทุกข์ทั้งจากกิเกส คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ

การพัฒนาปัจจัยภายในของมนุษย์ มี เจตนา และปัญญา เป็นแก่น จะทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา

ทุกขตาเป็นเครื่องเตือนเราให้รู้จักใช้ปัญญา

การรู้ทันทุกขตาด้วยปัญญา เราก็สามารถดับทุกข์ แก้ปัญหาทั้งหลาย ด้วยการใช้ความรู้มาปรับเหตุปัจจัยต่างๆ ในระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งปรับตัวเองด้วยให้สมดุล

อนััตตา

สิ่งทั้งหลายไม่เป็นตัวตนคงที่ยั่งยืน

หน้าที่ของการศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ให้ถึงขั้นละกิเลสทั้งสาม

การเป็นทาสของการยึดถือตัวตน แสดงออกมาทางการเห็นแก่ตัวรูปแบบต่างๆ

อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ 3 อย่างนี้ คือการยึดในตัวตน และเป็นเหตุของความขัดแย้ง ข่มเหงเบียดเบียนกัน ในตัวเองก็เป็นทุกข์

การเปลี่ยนกิเลส 3 ตัว คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็น ปัญญา กรุณา วิสุทธิ

การแก้ปัญหาพื้นฐานของมนุษย์คือการหลุดพ้นจากกิเลส 3 ตัวนี้

เพราะมนุษย์ไม่สามารถใช้ปัญญาที่รู้ความจริงมาแก้ปัญหา ก็เลยกลับเอาปัญญามารับใช้ตัณหา มานะ ทิฏฐิ โลกเลยมีแต่ปัญหารุมเร้าไปทุกด้าน

ถ้าเราเข้าใจอนัจจตา เราจะละตัวตน แล้วจะคิดต่อคนอื่นเป็นเพื่อน ที่ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในกฏธรรมชาติอันเดียวกัน แทนที่จะเอาเปรียบก็จะเมตตา กรุณา ต่อกัน ปฏิบัติต่อกันโดยมีจุดมุ่งหมาย คือสันติสุขแห่งมวลมนุษย์

  • ไตรสิกขา

ศิล สมาธิ ปัญญา

ศิล

เป็นการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งทางวัตถุ และทางสังคม

เมื่อเน้นการปฏิบัติให้เป็นฐาน ก็จะมุ่งเน้นไปที่ศิลโดยเฉพาะเด็กๆ ศิลเป็นเรื่องสำคัญ

(จริงๆมีปัญญา กับสมาธิคลอไปด้วย แต่พอมีศิลแล้วจะเป็นฐานให้สมาธิ และปัญญา พัฒนาไปด้วย)

ควรเน่นในแง่พัฒนาศิลให้เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจ และปัญญาต่อไป

การรู้เท่าทันช่องทางที่จะสื่อสารกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

ช่องทางคือ ทวาร

ทวารมี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ประตูรับรู้ (ผัสสทวาร) ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, ชุดที่ 2 ประตูกระทำ (กรรมทวาร) กาย วาจา ใจ (ศูนย์รวมอยู่ที่ใจ)

ใจ เป็นจุดเริ่ม และจุดสิ้นสุด รับรู้ -> ใจ -> กระทำ หมุนวนไปเป็นวงจร

แต่ศิล ๕ ไม่พอ ต้องเป็นศิล 4 ชุดนี้ิ คือ

1. ศีล 5 (ศีลของคนธรรมดา) ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ขโมย, ไม่ผิดในกาม, ไม่โกหก, ไม่ดื่มเหล้า

2. ศีลในการสำรวมสํารวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านบอกว่าการที่คนใช้อินทรีย์ไม่เป็น เลยทำให้การเสพและการใช้ไอทีเป็นโทษ

หลักการคือ ต้องมีสติในการใช้อินทรีย์ แทนที่เราจะเสพไอทีให้เราศึกษาไอที และใช้ไอทีเพื่อการศึกษา ศึกษาในแง่ที่ว่า พัฒนาชีวิต ด้วยการแสวงหาปัญญา

“การใช้ไอทีเพื่อแสวงหาปัญญา และพัฒนาชีวิต” โดยมีสติเป็นผู้ช่วยว่าจะใช้ได้ไอทีได้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้การรณรงค์ผ่านสื่อใหม่ได้, ทำคู่มือการใช้ไอทีอย่างมีสติ, ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายในวงกว้าง)

วิธีการคือ เราต้องรู้ว่าดูทีวี หรือใช้สื่อนั้นเรามีจุดมุ่งหมายอะไร หรือได้แนวทางการแก้ไขปัญญา หรือมาพัฒนาให้ชีวิตดีขึ้นหรือไม่

เมื่อใช้อย่างมีสติ (คุณหมอสุวิทย์ ก็เคยเตือนเรื่องการพิมพ์ข้อความบน FB อย่างมีสติ)

ถ้าดูเป็น ฟังเป็น อย่างน้อยสิ่งที่ได้ก็คือ 1.ข้อมูล 2.ปัญญาที่รู้เข้าใจข้อมูลนั้น แล้วก็ขยายออกต่อไปอีก ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หยั่งเห็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ปัญญาก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างนี้ไม่เสียเวลาเปล่า และไม่ถูกหลอกให้หลงทางเขวออกไป

พัฒนาถึงที่ จะเอาดีได้จากสิ่งที่เลวที่สุด

เบื้องต้น พยายามจัดให้เด็กได้พบเห็น ได้ดู ได้ยินข้อมูล เรื่องราว ประสบการณ์ดีๆ ให้เขาได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เรียกว่าให้เด็กได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

ต่อมา คือ พยายามให้เด็กได้รับแต่สิ่งที่ดี พยายามไม่ให้พบสิ่งที่ไม่ดี

ต่อไป คือให้เด็กได้รับสิ่งที่ดีที่สุด พร้อมทั้งสามารถเอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด

การจัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้เด็ก นั่นคือ เขาอาศัยพึ่งพาเรา แต่เด็กไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป เมื่อเขาไปอยู่ในชีวิตจริงและโลกที่เป็นจริง โลกมันอาจไม่ได้ตามใจเขา เขาต้องพบเจอหลายสิ่งทั้งดีและไม่ดี ชอบใจและไม่ชอบใจ ถ้าเขายังต้องการพึ่งหาคนอื่นอยู่ร่ำไป แสดงว่าเขาไม่ได้พัฒนาเพียงพอ และเขาก็จะล้มเหลว ไปไม่ไหว เป็นอาการของการพึ่งตนไม่ได้อย่างหนึ่ง

ดังนั้นใน รร. เด็กอยู่กับเรา เราจัดให้เขาได้พบได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เราก็คือปัจจัยภายนอก (เป็นกัลยาณมิตร) และเด็กกำลังพึ่งพาอาศัยเรา พึ่งพาขึ้นต่อการจัดตั้งและการจัดสรรของเรา

หน้าที่ที่แท้จริง และความสำเร็จของปัจจัยภายนอก ตลอดจนการจัดสรรทั้งหมดนั้นออกมาเป็นสื่อ เป็นตัวกระตุ้นเร้าหรือโน้มน้าวน้อมนำ ให้เด็กพัฒนาปัจจัยภายในขึ้นในตัวของเขาเอง ที่จะให้เราสามารถพร้อมออกไปในโลกแห่งความจริง เรากำลังช่วยให้เขาเตรียมตัวให้พร้อม

เมื่อเด็กมีปัจจัยภายในของตนเอง เขาจะไม่ต้องขึ้นต่อปัจจัยภายนอก ไม่ต้องพึ่งพาการจัดสรร นั่นคือความสำเร็จของการศึกษา ที่บอกว่า เขาเป็นผู้พัฒนาแล้ว และเป็นผู้ที่เรียกว่า พึ่งตนได้

การให้เด็กได้รับส่งที่ดีที่สุด คือ การที่ปัจจัยภายนอกใช้โอกาสเพิ่มพูนเสริมเติมปัจจัยที่ดีให้แก่เด็กใ่ห้ได้มากที่สุด และการให้เด็กพัฒนาความสามารถที่ดีจะเอาดีเอาประโยชน์ได้จากประสบการณ์และสถานการณ์ทุกอย่างแม้แต่ที่เลวที่สุด คือการที่ปัจจัยภายนอกช่วยให้เด็กพัฒนาปัจััยภายในตัวของเขาเองขึ้นมา ที่จะทำให้เขาเป็นผู้พัฒนาแล้วและพึ่งตัวเองได้อย่างแท้จริง

ปัจจัยภายใน ที่จะทำให้เด็กสามารถเอาประโยชน์ได้จากประสบการณ์และสถานการณ์ทุกอย่างแม้แต่ที่เลวที่สุด คือปัจจัยภายในหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความรู้จักคิด ที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ

จิตสำนึกในการฝึก หรือในการศึกษา คือ เจออะไร ก็ถือเป็นการเรียนรู้ทั้งหมด เจออะไรทุกข์หรือยาก ก็เป็นบทเรียน เป็นแบบฝึกหัดหมด พอเอาเป็นแบบฝึกหัดแล้ว การพัฒนาก็เดินหน้าไปเรื่อย พร้อมทั้งได้เพิ่มทุนในการสร้างความสุขให้แก่ตัวเอง

หน้าที่กัลยาณมิตร

สร้างปัจจัยภายนอก -> สื่อ -> <- สื่อ <- สร้างปัจจัยภายใน (คิด)

เรียนให้สนุก มีความสุขในการเรียน -> เรียนให้เข้าใจง่าย เป็นการจัดตั้งของปัจจัยภายนอก แต่ควรทำด้วยความตั้งใจให้เป็นสื่อนำสู่การพัฒนาปัจจัยภายใน ที่เป็นตััววินิจฉัยความสำเร็จ

อย่าลืมว่าเขาจะต้องอยู่ในโลกจริง หากเขาต้องพึ่งความสุขจากการจัดตั้งของโรงเรียน เมื่อเจอโลกที่ไม่ตามใจตัว เขาจะสู้ได้ แต่แต่ความทุกข์ ต้องให้เขาสามารถมีความสุขด้วยตนเอง

ปัจจัยภายในที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การใฝ่รู้ แรงเข้ม พอเขาอยากรู้ แปลว่าปัจจัยภายในเกิดขึ้นแล้ว ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เขาจะไปหาความรู้และค้นหาค้นคว้า และศึกษาอย่างมีความสุข

การศึกษาคืือการพัฒนาความสุข

ความอยากรู้ ต้องการเข้าถึงว่าความจริงเป็นอย่างไร ทำให้มีความสุขในการไปค้นคว้าหาความรู้นั้น

ปัจจัยภายในที่เขามี คือ ความใฝ่รู้อยากรู้ที่แรงกล้า เป็นพลังยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อน บางคนยอมยกเวลาทั้งชีวิต เพื่อจะให้ได้ความรู้ เช่น นักวิทยาศาสตร์

สรุป อย่างให้เด็กติดกับความสุขแบบจัดตั้ง ความสุขแบบพึ่งพา ต้องสร้างปัจจัยภายในขึ้นมา ให้เด็กใฝ่รู้

เราสามารถพัฒนาความสุขขึ้นๆไปอีกด้วยการพัฒนาปัจจัยที่สำคัญ คือ พัฒนาความต้องการ

ก้าวต่อไปคือ การมีความสุขจากการกระทำ จากความพอใจที่จะทำ (ฉันทะ) เด็กสมัยนี้ผู้ใหญ่ไม่ได้ช่วยในการพัฒนาฉันทะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ทุกข์ไปทั้งนั้น และไม่มีแรงใจที่จะทำ เลยอ่อนแอลงด้วย สังคมก็อ่อนแอลง พอฉันทะอ่อนแอลง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็ขยาย อารยธรรมจะล่มสลาย

3. ศีลในการเสพบริโภคปัจจัย: การเสพบริโภคด้วยปัญญา

ปัจจัย 4 ที่เราพูดกัน คือ สิ่งเกื้อหนุนชีวิต

ปัจจัย แปลว่า สิ่งที่เกื้อหนุนชีวิต หรือเป็นเงื่อนไขให้ชีวิตดำเนินไป ถ้าเราไม่มีมัน ชีวิตเราก็อยู่ไม่ได้ หรืออยู่ดีไม่ได้ คำว่าปัจจัย บอกความหมายเสร็จอยู่ในตัวว่า

1. ไม่เสพในสิ่งที่บั่นทอนชีวิต ปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อหนุนชีวิต สิ่งที่เป็นคุณแก่ชีวิต เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำลายหรือบั่นทอนชีวิต อย่าไปปฏิเสวนามันเลย คืออย่าไปเสพบริโภคมันเลย

ท่านยกตัวอย่าง ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมเสียหาย เพราะเป็นผลมาจากการเสพบริโภคของมนุษย์

2. ให้บริโภคในสิ่งที่เป็นปัจจัย ทำให้เราอาศัยให้ชีวิตเราอยู่ได้ เช่น นำ้ อาหาร มันเป็นแค่เครื่องอาศัย means ไม่ได้ เป็น end

ทางพระถือว่าสิ่งเสพบริโภค หรือเรื่องเศรษฐกิจนี้เป็นปัจจัย เราต้องมีให้พอดำรงชีวิตอยู่ได้และไม่เท่านั้น ต้องพอจะพัฒนาชีวิต และทำให้มนุษย์และโลกนี้อยู่ด้วยดีมีสันติสุข

เราอาศัยปัจจัย เพื่อจะได้ศึกษา

แต่มันไม่ใช่จุดหมาย คือเราไม่ได้อยู่เพื่อจะมีมัน หรือครอบครองเอาไว้ หรือเพื่อจะหาความสุขจากการเสพบริโภคไปจบที่มัน

ปัจจุบัน มนุษย์พลิกตรงข้าม เอาเรื่องเศรษฐกิจ เอาวัตถุสิ่งเสพบริโภคเป็นจุดหมาย ทุ่มเทเรี่ยวแรงกำลังทุกอย่างเพื่อจะให้ได้สิ่งเสพบำรุงมา แล้วหลงระเริงมัวเมากับความสุขจากการบริโภคสิ่งเหล่านี้ พ่วงด้วยการแก่งแย่ง เบียดเบียน ทำลายกันจนรุกรานธรรมชาติ ที่มาของปัญหาแทบทุกอย่างในปัจจุบัน แสดงได้ชัดว่า มนุษย์ไม่มีปัญญาในการเสพบริโภค การมีปัญญาในการบริโภค คือการบริโภคแต่พอดี พอประมาณ (พอเพียง? :) )

คนสมัยนี้บริโภคด้วยตัณหา ไม่ได้บริโภคด้วยปัญญา ซึ่ง การบริโภคด้วยปัญญา เป็นการกระทำ จากการคำนึง พิจารณา ถึงจุดมุ่งหมายของการเสพ ทำให้สมคุณค่า และเกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย

เมื่อรักษาศิลนี้ได้ จะแยกออกว่าอันไหน คุณค่าที่แท้ของปัจจัย 4 นี้คืออะไร เราจะใช้ จะเสพอะไร มองให้เห็นคุณค่าที่แท้ก่อน อย่าไปหลงกับคุณค่าเทียม เช่น ดูโก้ หรู แต่ให้ยึดความจริงคทือคุณค่าแท้เป็นหลักเอาไว้

4.ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ: สัมมาชีพ การศึกษาเพื่ออาชีพ หรืออาชีพเพื่อการศึกษา

อาชีพนั้นต้องเกื้อกูลสังคม แก้ปัญหา ไม่ให้เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ และธรรมชาติ

อาชีพตองไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศิลธรรม ไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ ช่วยแก้ปัญหาชีวิต ช่วยแก้ปัญหาสังคม หรือช่วยสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

* ในทางการศึกษา ศิลที่สำคัญที่สุดคือ ศิลในการใช้อินทรีย์ และศิลในการเสพปัจจัย แต่ศิลที่ครอบไว้คือศิล 5

สมาธิ

การมีสมาธิ คือ การพัฒนาจิตใจให้ มีคุณธรรม, มีความสามารถ, มีความสุข

ก) มีคุณธรรม เช่น เมตตา กรุณา กตัญญู หิริโอตตัปปะ

ข) มีความสามารถ หรือความเข้มแข็ง เช่น วิริยะ ขันติ สติ สมาธิ

ค) มีความสุข เช่น ปราโมทย์ ปติ สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน ผ่องใส สุข

ปัญญา

รู้เข้าใจถึงความจริงของสิ่งที่หลาย


เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2555 | อ่าน 7564
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ธรรมะวันนี้ อื่นๆ
 
เปรต วิบากกรรมของผู้ยุยงให้คนอื่นแตกแยก
เปรต วิบากกรรมของผู้ยุยงให้คนอื่นแตกแยก พระพุทธศาสนากล่าวถึงวิบากกรรมของคนที่ชอบพูดยุยงให้คนอื่นแตกแ
30/08/2565
เปิดอ่าน 6226
 
ซื่อสัตย์
เรือลำนั้นชื่อ ซื่อสัตย์
09/10/2564
เปิดอ่าน 4205
 
"ปรุง เปลี่ยน ปรับ ขยับขยาย"
"ปรุง เปลี่ยน ปรับ ขยับขยาย" พระเทพปฎิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศนเทพวราราม เจ้าคณะเขตดุสิต กทม
13/01/2563
เปิดอ่าน 5832
 
นางฟ้าตกสวรรค์
โลกมนุษย์​ ยาวนานจริงหรือ​ อย่าประมาทในการทำความดี
06/10/2562
เปิดอ่าน 9010
 
สาธุ​ คืออะไร?
สาธุ
18/04/2562
เปิดอ่าน 5573
 
ธรรมชาติแมงป่อง
ธรรมชาติแมงป่อง
14/04/2562
เปิดอ่าน 5008
 
เต่าตาบอด
เต่าตาบอด​ 100ปี​ ยื่นคอขึ้นเหนือน้ำให้ลอดแอก​ยากยิ่งนัก
02/02/2562
เปิดอ่าน 5176
 
งูกับการสวดมนต์
งูกับการสวดมนต์
20/06/2561
เปิดอ่าน 5395
 
ลอยกระทง
ลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทยสืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
03/11/2560
เปิดอ่าน 6173
 
เปิดกลโกง กับคนโกง 8 จำพวกในพระไตรปิฎก
เปิดกลโกงกับคนโกง 8 จำพวกในพระไตรปิฎก ประเภทของคนโกงถูกเตือนแล้วโกรธ ไม่ใช่โกงเงินทอง แต่โกงความดี
01/11/2560
เปิดอ่าน 5666
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th