การศึกษาที่แท้จริง

การศึกษาที่แท้จริง

 

  • คุณภาพการศึกษาที่เราอยากสร้างให้กับเด็ก คือ ความสามารถที่จะใช้สติปัญญา เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง บุคคล และสังคมที่เกี่ยวข้อง แต่คุณภาพข้อนี้เป็นจุดอ่อนทางการศึกษาของเรามาโดยตลอด ทำให้สังคมไทยส่วนมากอ่อนแอทางสติปัญญา ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทย ที่จะยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง สร้างแต่นิสัยและพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่นมากกว่าที่จะพึ่งตนเอง ดีที่สังคมไทย คนไทยยังมีหลักแนวคิดทางพระพุทธศาสนาอยู่บ้าง จึงพอเอาตัวรอดได้

 

  • นักการศึกษาในยุคปฏิรูปมักพูดกันมากกว่า อัจฉริยภาพทางความคิดเป็นเป้าหมายสำคัญของคุณภาพการศึกษา เป็นจุดหมายปลายทางที่หลักสูตรกำหนดเป็นมาตรฐานคุณภาพที่ทุกโรงเรียนต้องฝึกฝนให้เด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่สุดของคนเป็นครู ทำอย่างไรเราถึงจะปลูกฝังสร้างสติปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวเด็กๆได้

 

  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิจัยเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยให้เด็กของเราเติบโตด้านการศึกษา โดยการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการเรียนรู้จากการสังเกตต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวของเขาเองและสิ่งแวดล้อมภายนอก และอีกกระบวนหนึ่ง คือ กระบวนการทางพระพุทธศาสนา โดยการฝึกให้เด็กรู้จักฝึกกาย ใจให้สงบนิ่ง ตั้งใจดู และพิจารณาความรู้สึก อารมณ์ ความคิดที่เกิดในใจ ซึ่งก็คือแนวทางของศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง

 

  • แต่ในโลกที่มีความรู้มากมาย กว้างใหญ่ ไพศาลเหลือคณานับ บทบาทใหม่ที่เราเป็นครูแห่งยุคสมัยต้องปรับเปลี่ยน คือ การฝึกวิธีหาความรู้ที่หลากหลายให้แก่เด็ก ๆ เพื่อให้เขามีความสามารถในการเรียนรู้ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) ซึ่งเราต้องเข้าใจว่าไอที จะเข้ามาแทนที่ครูไม่ได้ แต่จะช่วยให้ครูมีโอกาสเปลี่ยนวิธีสอนจากการบอกความรู้ ไปสู่การให้เด็กเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น นี่คือบทบาทอีกประการหนึ่งที่เราต้องพัฒนาขึ้น

 

  • โรงเรียนทั่วๆ ไปมักมองข้าม และละเลยที่จะปลูกฝังให้เด็กๆ มีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น และสรรพสิ่งรอบตัวได้อย่างแท้จริง การปลูกฝังให้ความรักเจริญงอกงามในจิตใจ ไม่สามารถทำได้ด้วยการบรรยายในชั้นเรียน แต่ด้วยการจัดบรรยากาศ การปฏิบัติต่อกัน และกิจกรรมหลากหลาย ให้เด็กได้ลงมือกระทำจริง น้ำทุกหยดที่เด็ก ๆ รดไปยังต้นไม้ที่เขารับผิดชอบ คือปฏิบัติการแห่งความรักที่สำคัญมากทีเดียว ขยะทุกชิ้นไม่เพียงแต่จะทำให้โรงเรียนสะอาดเท่านั้น แต่มันหมายถึงจิตใจที่สามารถจะรักผู้อื่นด้วย

 

  • อีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนครู ไม่ควรมองข้าม คือ การฝึกฝนคุณลักษณะพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็กๆ เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มีพฤติกรรม บุคลิกภาพที่เข้าได้ทุกสังคม รวมทั้งการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะพื้นฐานในการทำงานที่ช่วยให้สามารถประกอบการงานอาชีพพึ่งตนเองได้ในอนาคต จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องปลูกฝังให้กับเด็ก และไม่ควรหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบแต่อย่างใด

  • ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/486376


เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2555 | อ่าน 3454
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18524
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9753
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11135
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15196
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12073
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11093
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11025
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11590
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12869
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12107
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th