คิดนอกกรอบด้วย “พุทธศาสตร์สร้างสรรค์”: การเรียนรู้เชิงพุทธกับการพัฒนาการศึกษาไทย

คิดนอกกรอบด้วย “พุทธศาสตร์สร้างสรรค์”: การเรียนรู้เชิงพุทธกับการพัฒนาการศึกษาไทย

November 18, 2008

เรื่อง: ชัชรพล เพ็ญโฉม

unframe.jpg

ถ้าคุณเป็นคนรุ่นปลายเจนเนอเรชั่น X (Generation X คือ คนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1965-1981) และเติบโตมาในเจเนอเรชั่น Y (or Generation Why? คือ คนที่เกิดปีระหว่าง ค.ศ. 1982-1994) และอาศัยอยู่ในประเทศไทย (เน้นว่าประเทศไทย ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ) เชื่อว่า ประโยคหนึ่งที่คุณต้องเคยได้ยินบ่อยมาก เมื่อสมัยยังรุ่นๆ ก็คือ เด็กไทยสมัยนี้กล้าแสดงออกมากขึ้น

คำพูดดังกล่าว น่าจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงอยู่ซึ่งการที่เด็กไทยผู้เคยมีบุคลิกขี้อาย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ลุกขึ้นมาเป็นตัวของตัวเอง กล้าพูดกล้าทำ กล้าขุดงัดแสดงความสามารถออกมาให้โลกประจักษ์นั้น น่าจะมีเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

คงยังพอจำกันได้ว่า ในยุคสมัยหนึ่ง ประเทศไทยเรามุ่งมั่นพัฒนา เพื่อเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจของประเทศ จากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรมหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “นิค” (NIC-Newly Industrialized Country) การพัฒนาประเทศในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของเยาวชน เพื่อให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน หากมองด้านการเมืองในยุค 20-30 ปีที่แล้ว เป็นยุคที่ประชาธิปไตยของไทยเราเบ่งบานถึงขีดสุด (โดยใช้เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และพฤษภาทมิฬเป็นตัวบ่งชี้) เมื่อเทียบกับยุคก่อนหน้านั้น ที่มีรัฐบาลทหารสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นปกครองประเทศ (จากการทำรัฐประหาร) นี่ก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีส่วนทำให้เด็กและเยาวชนไทยกล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น

นอกจากนี้ ตลอดช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เรายังได้เห็นโครงการอบรมเด็กและเยาวชนผุดขึ้นมากมาย ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งที่จัดขึ้นในประเทศและร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งหมดก็เพื่อปลูกฝังและเปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนได้มีโอกาสแสดงความเห็น มีส่วนร่วม และนำประสบการณ์มีค่าต่างๆ ไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในวันข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นการอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา หรืออะไรก็ตามแต่ กิจกรรมเหล่านี้คือ ”การเรียนรู้นอกห้องเรียน” ที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตภาคปฏิบัติหรือที่เรียกว่า Learning by Doing นั่นเอง

หันกลับมามองกระแสหลักในปัจจุบันกันบ้าง เด็กๆ ในวันนี้ต้องแบกภาระการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยไว้ด้วย “วิธีการเรียนรู้จากห้องสี่เหลี่ยม” เวลาที่ควรจะนำไปเรียนรู้โลกภายนอก จึงหมดไปกับการเรียนพิเศษการติวเสริม ทั้งที่โรงเรียน และนอกเหนือจากที่โรงเรียนด้วย ซึ่งตราบใดที่ยังไม่มีใครมาแก้โจทย์ข้อที่ว่า “จำนวนที่นั่งในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สมัครสอบ” (เพราะ
จำนวนประชากรมากขึ้น, นักเรียนไม่นิยมเรียนสายอาชีพเหมือนเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว แต่นิยมเรียนต่อม.ปลาย เพื่อมุ่งเข้ามหาวิทยาลัย พ่อแม่สนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมากขึ้น ฯลฯ) รวมถึงตอบคำถามเรื่อง “วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการวัดความสามารถเชิงวิชาการของเยาวชน” แล้วนั้น การสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็เหมือนจะยังเป็นทางเลือกเดียวที่สมรภูมิการแข่งขันร้อนฉ่าขึ้นทุกปี

อย่างไรก็ดี ในโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่งของเรา การสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กไทย ก็เป็นเพียงแค่สนามเด็กเล่น (ไว้ให้เด็กฝึกซ้อม) เพราะเมื่อเทียบกับสนามการแข่งขันจริง อย่างสนามการค้า หรือสนามเศรษฐกิจโลกแล้ว เรายังต้องเจอกับคู่แข่งระดับหัวกะทิอีกมากมาย ที่เตรียมพร้อมจะยื้อแย่งทรัพยากรและความร่ำรวยอันจำกัดบนโลกใบนี้

จากรายงานทางเศรษฐกิจและคำกล่าวของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก ที่ล้วนชี้ประเด็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สินค้าที่แต่ละประเทศจะใช้แข่งขันกันในทศวรรษต่อไปจากนี้ก็คือ ความคิดโลกจะพัฒนาเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) อย่างเต็มตัว ด้วยความเชื่อที่ว่า ระบบความคิดดังกล่าว จะพัฒนาความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน

การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สนามแข่งขันเชิงความคิดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็ คือ “การยกระดับคุณภาพประชากร” ซึ่งแน่นอนว่า “การศึกษา” ย่อมเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด เมื่อ “ความคิด” ถูกนำมาตั้งเป็นโจทย์ การเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เสริมทักษะในการแก้ไขปัญหา จึงน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

Christian Phongphit สถาปนิกและช่างภาพชาวเยอรมัน และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ในกระบวนการเกิดขึ้นของความคิดสร้างสรรค์นั้น สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญประการแรก โดยสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้น จะจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่าในห้องเรียนธรรมดา ซึ่งในวิชาที่เขาสอน เขาจะเลือกทำเวิร์คช็อปในสถานที่ที่แตกต่างกันไป และสร้างบรรยากาศที่ให้อิสระต่อการเรียนรู้ด้วย

นอกจากนี้ อาจารย์ Christian ยังให้ความเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเปรียบเสมือนกับกล้ามเนื้อที่ หากไม่หมั่นฝึกฝนเป็นประจำก็จะลีบหายไป ระบบการเรียนรู้ที่ฝึกฝนให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ จึงต้องเป็นเสมือนแกนหลักของการสอน โดยเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว การฝ่ากรอบที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ในทุกรูปแบบ อาทิ ความกลัวที่จะล้มเหลว หรือ การไม่ตระหนักรู้ถึงความสามารถที่แท้จริงของตัวนักศึกษาเอง เป็นต้น

และใช่ว่าการเรียนการสอนในวิธีดังกล่าว จะมีแต่สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีเท่านั้น ในระดับประถมและมัธยมก็มีสถานศึกษา ที่นำเสนอแนวการศึกษาในรูปแบบทางเลือกอยู่อีกหลายแห่ง อาทิ โรงเรียนทอสี หรือ โรงเรียนรุ่งอรุณ ที่ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ “วิถีพุทธ” มุ่งเน้นพัฒนาเด็กทั้งในด้านวิชาการและการขัดเกลาจิตใจ

การเรียนใน “วิถีพุทธ”นี้ จะพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา จากความสามารถที่แท้จริงตามธรรมชาติของมนุษย์ และเสริมสร้าง “ความคิดสร้างสรรค์แบบพุทธ” ขึ้นมา ซึ่งต่างจากความคิดสร้างสรรค์แบบตะวันตก ตรงที่ “วิถีพุทธ” จะเน้นย้ำเรื่องคุณธรรม และการรักษาสมดุลทางจิตใจ ด้วยวิถีแห่งศีลสมาธิและปัญญา นักเรียนจะได้รับการฝึกฝนความประพฤติทั้งทางกาย วาจา ใจ ผ่านการเรียนรู้จากสถานการณ์ต่างๆ ที่หลักสูตรกำหนดให้ เป็นการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจทั้งต่อโลกภายนอก (ชีวิตและวิทยาศาสตร์) และโลกภายใน (จิตใจ)

การเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ (หรือ Learning by Doing) ถูกนำมาใช้เป็นยุทธวิธีหลักในการเรียนการสอน อย่างเช่น หลักสูตรการปลูกข้าว ที่รวมเอาองค์ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ ภาษาชีววิทยา ธรณีวิทยาภูมิศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน เปิดโอกาสให้เด็กๆได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ไม่ใช่รู้จากการอ่านตำราเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลจาก: หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับวันที่ 2 และ12 กันยายน 2551
รูปภาพจาก: http://www.thawsischool.com/และ http://www.roong-aroon.ac.th/



Read more: http://article.tcdcconnect.com/ideas/learning-by-doing#ixzz25gZAvC9g


เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2555 | อ่าน 4244
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18531
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9766
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11142
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15201
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12077
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11098
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11030
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11594
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12876
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12117
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th